คาถา (Spells)

ในบทนี้จะอธิบายกฏการใช้คาถา ซึ่งจะรวมถึง รายการคาถา ทั่วไปที่ใช้กันในโลกของดันเจียนแอนด์ดรากอน คาถาเหล่านี้ใช้กันโดยทั่วไปในความสามารถคลาส, ไอเท็มเวทย์มนต์ และมอนสเตอร์

คาถาและเวทย์มนต์ ในหนังสือกฏคุณจะพบกับคำว่า Magic และ Spell ในภาษาไทยทั้งสองคำแปลรวม ๆ ได้ว่าเวทย์มนต์ เพื่อให้แตกต่างกันผู้แปลเลยใช้คำว่า “เวทย์มนต์” กับ Magic และคำว่า “คาถา” กับ Spell เพราะจากเนื้อหาแล้วต้นฉบับนิยามตัวเวทย์มนต์ไว้เป็นเหมือนสารพลังงานตามธรรมชาติ เหล่าผู้ใช้คาถาต้องศึกษาและนำมาใช้ในรูปแบบของคาถา คือมีการท่องมนต์ การทำท่าร่าง และการใช้วัตถุประกอบคาถา ทั้งหมดก็เพื่อจัดการตัวเวทย์มนต์ให้ได้ผลตามต้องการนั่นเอง

การได้รับคาถา (Gaining Spells)

ก่อนที่คุณจะใช้คาถาได้ คุณต้องมีคาถาเตรียมไว้ในใจหรือมีทางในการเข้าถึงคาถาจากไอเท็มเวทย์มนต์ เช่น ม้วนคาถา (Spell Scroll) ความสามารถคลาสของคุณจะเป็นตัวบอกว่าคุณสามารถเข้าถึงคาถาใดได้บ้าง คุณมีคาถาอะไรเตรียมไว้เสมอหรือไม่ และคุณอาจจะเปลี่ยนแปลงรายการคาถาที่คุณเตรียมไว้แล้วได้หรือไม่

การเตรียมคาถา (Preparing Spells)

ถ้าคุณมีรายการคาถาเลเวล 1+ ที่คุณเตรียมไว้ ความสามารถคลาสในการใช้คาถาจะเป็นตัวระบุว่าเมื่อใดที่คุณจะสามารถปรับเปลี่ยนรายการและจำนวนของคาถาที่คุณสามารถเปลีย่นได้ ดังในตารางสรูป

การเตรียมคาถาตามคลาส

คลาส เปลี่ยนได้เมื่อคุณ… จำนวนคาถา
เคลอริก (Cleric) จบการพักยาว เท่าใดก็ได้
วิซาร์ด (Wizard) จบการพักยาว เท่าใดก็ได้

มอนสเตอร์ที่ใช้คาถาส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนรายการคาถาที่เตรียม แต่ DM ก็มีอิสระที่จะทำได้

คาถาที่จะเตรียมไว้เสมอ

ความสามารถบางอย่างอาจจะให้คาถาที่จะเตรียมไว้เสมอแก่คุณ ถ้าคุณมีรายการคาถาที่เตรียมไว้แล้วและคุณสามารถเปลี่ยนได้ คาถาที่คุณจะมีเตรียมพร้อมเสมอจะไม่ถูกนับรวมกับจำนวนคาถาในรายการนั้น

การร่ายคาถาเมื่อสวมเกราะ

คุณต้องมีการฝึกฝนการใช้เกราะใด ๆ ที่คุณสวมใส่และใช้คาถาระหว่างที่ใส่เกราะ มิเช่นนั้นคุณจะถูกขัดจังหวะการใช้คาถาจากเกราะที่รุ่มร่าม

การร่ายคาถา

คาถาแต่ละคาถามี คำอธิบายคาถา ที่จะมีชุดข้อมูลรายละเอียดระบุในการใช้คาถานั้น ๆ ส่วนต่อไปนี้จะอธิบายข้อมูลที่มีหลังจากชื่อคาถา

เลเวลคาถา (Spell Level)

ทุกคาถาจะมีเลเวลตั้งแต่ 0 ถึง 9 ซึ่งจะระบุไว้ในคำอธิบายคาถา เลเวลคาถาเป็นตัวบ่งบอกถึงอำนาจของคาถานั้น แคนทริป เป็นคาถาง่าย ๆ ที่ผู้ใช้คาถาทั่วไปสามารถใช้ได้ เรียกได้ว่าเป็นคาถาเลเวล 0 กฏสำหรับแต่ละคลาสจะระบุว่าเมื่อใดที่สมาชิกในคลาสจะเข้าถึงคาถาในเลเวลอะไร

สล็อตคาถา (Spell Slots)

การใช้คาถานั้นถือเป็นภาระของผู้ใช้ ดังนั้นผู้ใช้คาถาจะสามารถใช้คาถาเลเวล 1+ ได้จำกัดในแต่ละวันก่อนพักผ่อน สล็อตคาถาเป็นวิธีหลักที่จะบอกถึงความสามารถของผู้ใช้คาถา คลาสผู้ใช้คาถาแต่ละคลาสจะให้สล็อตคาถากับสมาชิกเป็นจำนวนจำกัดสำหรับคาถาแต่ละเลเวล ตัวอย่างเช่น วิซาร์ดเลเวล 3 จะมีสล็อตคาถาเลเวล 1 สี่สล็อตและเลเวล 2 สองสล็อต

เมื่อคุณใช้คาถา คุณจะจ่ายเป็นสล็อตคาถาในเลเวลนั้นหรือสูงกว่า เป็นการ “เติม” คาถาลงสล็อต ลองจินตนาการว่าสล็อตคาถาเป็นช่องที่มีขนาดหนึ่ง ช่องเล็กสำหรับสล็อตเลเวล 1 และใหญ่ขึ้นสำหรับคาถาที่เลเวลสูงขึ้น คาถาเลเวล 1 จะใส่ลงสล็อตได้ในทุกเลเวล แต่คาถาเลเวล 2 จะใส่ลงได้อย่างน้อยก็ต้องสล็อตเลเวล 2 ดังนั้น เมื่อวิซาร์ดเลเวล 3 ใช้คาถา Magic Missile ที่เป็นคาถาเลเวล 1 วิซาร์ดนั้นจะใช้สล็อตคาถาเลเวล 1 หนึ่งช่องจาก 4 ช่อง ทำให้เหลือ 3 ช่อง

เมื่อจบการ พักยาว (Long Rest) จะคืนสล็อตคาถาที่คุณใช้ไปทั้งหมด

การใช้คาถาโดยไม่ใช้สล็อต

มีหลายวิธีที่จะใช้คาถาโดยไม่ต้องจ่ายสล็อตคาถา:

แคนทริป แคนทริปสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องใช้สล็อตคาถา

พิธีกรรม (Rituals) บางคาถาจะมีแท็ก “พิธีกรรม (Ritual)” อยู่ใน “เวลาในการร่าย (Casting Time)” คาถาดังกล่าวสามารถใช้ได้ทั้งแบบปกติ หรือสามารถใช้ในรูปแบบพิธีกรรม การใช้คาถาแบบพิธีกรรมจะใช้เวลานานกว่าการใช้คาถาปกติ 10 นาที แต่คุณจะไม่ต้องจ่ายสล็อตคาถา ในการใช้คาถาแบบพิธีกรรมนี้ ผู้ใช้คาถาต้องมีคาถาที่จะใช้เตรียมไว้

ความสามารถพิเศษ (Special Abilities) ตัวละครบางคนและมอนสเตอร์บางตัวจะมีความสามารถพิเศษที่จะอนุญาตให้พวกเขาใช้คาถาเฉพาะโดยไม่ต้องใช้สล็อตคาถา การใช้คาถาในลักษณะนี้จะมีจำนวนจำกัดในทางหนึ่ง เช่นสามารถใช้ได้เป็นจำนวนจำกัดต่อวันเป็นต้น

ไอเท็มเวทย์มนต์ (Magic Items) ม้วนคาถา (Spell Scrolls) และไอเท็มเวทย์มนต์บางอย่างจะมีบรรจุคาถาที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องใช้สล็อตคาถา ในคำอธิบายไอเท็มจะระบุจำนวนครั้งที่คาถาสามารถใช้ได้จากไอเท็มนั้น

การใช้สล็อตคาถาที่เลเวลสูงขึ้น

เมื่อผู้ใช้คาถาใช้คาถาโดยใช้สล็อตที่มีเลเวลสูงกว่าเลเวลของคาถา คาถาจะมีเลเวลสูงขึ้นในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ถ้าวิซาร์ดใช้คาถา Magic Missile โดยใช้สล็อตคาถาเลเวล 2 คาถา Magic Missile นั้นจะเป็นคาถาเลเวล 2 คาถาจะขยายอำนาจเพิ่มขึ้นตามสล็อตคาถาอย่างมีประสิทธิภาพ

บางคาถาอย่าง Magic Missile และ Cure Wounds จะมีอำนาจมากขึ้นเมื่อใช้ในเลเวลสูง ดังรายละเอียดของแต่ละคาถา

กลุ่มเวทย์มนต์ (School of Magic)

แต่ละคาถาจะสังกัดในกลุ่มเวทย์มนต์ (school of magic) กลุ่มเวทย์มนต์มีรายการในตารางด้านล่าง หมวดหมู่เหล่านี้จะช่วยอธิบายลักษณะคาถาแต่จะไม่ได้มีกฏเป็นของตัวเอง แม้ว่ากฏบางอย่างจะกล่าวถึงก็ตาม

กลุ่มเวทย์มนต์ (Schools of Magic)

กลุ่มเวทย์มนต์ ผลกระทบปกติ
การป้องกันและเพิกถอน (Abjuration) การป้องกันหรือย้อนคืนผลที่ทำให้เกิดอันตราย
การอัญเชิญ (Conjuration) เคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุ
การตรวจจับ (Divination) การเปิดเผยข้อมูล
มหาเสน่ห์ (Enchantment) มีอิทธิพลเหนือจิตใจ
การเรียกปลุก (Evocation) เชื่อต่อพลังงานเพื่อสร้างผลที่มักจะเป็นการทำลายล้าง
ลวงตา (Illusion) การลวงจิตใจหรือประสาทสัมผัส
การเรียกผีและวิญญาณ (Necromancy) การจัดการชีวิตและความตาย
การแปลงสสาร (Transmutation) แปลงร่างสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุ

รายการคาถาประจำคลาส (Class Spell Lists)

ถ้าคาถาเป็นส่วนหนึ่งของรายการคาถาประจำคลาส ชื่อคลาสจะปรากฏในวงเล็บหลังชื่อกลุ่มเวทย์มนต์ของคาถานั้น ความสามารถบางอย่างจะเพิ่มคาถาลงในรายการคาถาของตัวละครแม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกของคลาสนั้นก็ตาม

เวลาในการร่ายคาถา (Casting Time)

คาถาส่วนใหญ่จะต้องใช้แอ็คชัน ใช้เวทย์มนต์ (Magic) ในการใช้ แต่บางคาถาก็ต้องใช้โบนัสแอ็คชัน, รีแอ็คชัน หรือเวลา 1 นาทีหรือมากกว่า “เวลาในการร่าย” จะระบุว่าต้องใช้แบบไหน

หนึ่งคาถากับหนึ่งสล็อตคาถาต่อเทิร์น (One Spell with a Spell Slot per Turn)

ในเทิร์นหนึ่ง คุณสามารถใช้สล็อตคาถาได้หนึ่งสล็อตเท่านั้นในการใช้คาถา กฏนี้หมายถึงคุณจะไม่สามารถ ร่ายคาถาโดยใช้สล็อตคาถาด้วยแอ็คชัน ใช้เวทย์มนต์ (Magic) และใช้อีกครั้งโดยการใช้โบนัสแอ็คชันในเทิร์นเดียวกัน

รีแอ็คชันและโบนัสแอ็คชัน (Reaction and Bonus Action Triggers)

คาถาที่ใช้เวลาในการร่ายด้วยรีแอ็คชันจะใช้เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์กระตุ้นที่ระบุไว้ใน “เวลาในการร่าย” ของคาถา บางคาถาที่มีเวลาในการร่ายเป็นโบนัสแอ็คชันก็ตอบสนองต่อเหตุการณ์กระตุ้นที่ระบุไว้ในคาถาเหมือนกัน

เวลาร่ายคาถาที่นานขึ้น (Longer Casting Times)

คาถาบางคาถา รวมไปถึงคาถาที่ร่ายแบบ พิธีกรรม (Ritual) ต้องใช้เวลามากขึ้นในการใช้: เป็นนาทีหรือแม้แต่เป็นชั่วโมง ขณะที่คุณร่ายคาถาที่มีเวลาร่าย 1 นาทีหรือมากกว่า คุณต้องใช้แอ็คชัน ใช้เวทย์มนต์ (Magic) ในแต่ละเทิร์นของคุณ และคุณต้องคงสภาวะ เพ่งสมาธิ (Concentration) (ดู รายการกฏ) ขณะที่คุณร่ายคาถา ถ้าการเพ่งสมาธิแตกกระจ่าย คาถาจะล้มเหลว แต่คุณจะไม่ต้องเสียสล็อตคาถา ในการร่ายคาถาอีกครั้งคุณต้องเริ่มใหม่แต่ต้น

ระยะคาถา (Range)

ระยะของคาถาเป็นตัวระบุระยะที่ไกลสุดจากผู้ร่ายคาถาที่ผลจากคาถาจะเริ่มต้นได้ และคำอธิบายคาถาจะระบุถึงส่วนที่ผลจากคาถามีจำกัดในระยะนั้น

ระยะคาถามักจะมีดังนี้

ระยะไกล (Distance). ระยะคาถาจะระบุเป็นหน่วยฟุต

สัมผัส (Touch). ผลจากคาถาจะเริ่มต้นบนบางสิ่งได้ ผู้ร่ายคาถาต้องสัมผัสกับสิ่งนั้น ตามคำอธิบายคาถา

ตัวเอง (Self). คาถาจะใช้กับผู้ร่ายคาถาหรือแพร่ออกมาจากกลุ่มของพวกเขา ตามคำอธิบายแต่ละคาถา

ถ้าคาถามีผลที่เคลื่อนที่ได้ มันจะไม่ถูกจำกัดด้วยระยะเว้นแต่คำอธิบายคาถาจะระบุเป็นอย่างอื่น

สิ่งประกอบคาถา (Components)

สิ่งประกอบคาถาเป็นสิ่งที่ต้องมีทางกายภาพที่ผู้ใช้คาถาจะต้องมีเพื่อให้สามารถใช้คาถาได้ แต่ละคาถาจะระบุว่ามันต้องใช้ส่วนประกอบเป็น การออกเสียง (Verbal) (V), การใช้ท่าร่าง (Somatic) (S), หรือใช้วัตถุประกอบคาถา (Material) (M) ถ้าผู้ร่ายคาถาไม่สามารถทำบางสิ่งหรือมีองค์ประกอบไม่ครบ จะไม่สามารถใช้คาถาได้

การออกเสียง (Verbal) (V)

การออกเสียงเป็นการสวดมนต์ที่ฟังแล้วพิลึกสำหรับคนอื่น คำศัพท์ต้องเป็นคำที่สามารถออกเสียงปกติได้ ตัวคำศัพท์เองนั้นไม่ได้เป็นแหล่งพลังสำหรับคาถา แต่การผสมเสียงในรูปแบบเฉพาะ ระดับเสียงและการการสั่นของเสียงนั่นเองที่เป็นตัวกระตุ้นให้เวทย์มนต์ทำงาน ซึ่งนั่นทำให้สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถพูดได้หรืออยู่ในพื้นที่ที่ถูกทำให้เงียบด้วยเวทย์มนต์ จะไม่สามารถใช้คาถาที่ต้องออกเสียงได้

การสร้างส่วนประกอบการออกเสียงคาถา

ถ้าคุณอยากท่องคาถา คุณต้องสร้างชุดศัพท์ขึ้นมา อย่างไรก็ตามในการสร้างคาถา เป้าหมายคือการสร้างบางอย่างที่ออกเสียงได้ง่ายและไม่ได้มีความหมายอะไรในโลกแห่งความจริง ลองใช้วิธีนี้ดู: เอาชื่อของคาถามาและเก็บอักษรตัวแรกของแต่ละคำไว้ จากนั้นสลับอักษรอื่นในคำนั้น ตัวอย่างเช่น เอาตัว l ออกจาก Fireball และเรียงตัวอักษรที่เหลือใหม่เป็น Ber Fila หรือ Fel Bira

การใช้ท่าร่าง (Somatic) (S)

ส่วนประกอบท่าร่างเป็นท่าทางที่เน้นพลังหรือเป็นชุดการเคลื่อนไหวแบบหนึ่ง ผู้ใช้คาถาต้องมีมือข้างหนึ่งว่างไว้เพื่อใช้ทำท่าได้

วัตถุประกอบคาถา (Material) (M)

วัตถุประกอบคาถาเป็นวัตถุเฉพาะที่ใช้ประกอบการร่ายคาถา โดยจะมีระบุไว้ในวงเล็บใน “ส่วนประกอบ” วัตถุเหล่านี้จะไม่ถูกสังเวยโดยคาถาเว้นแต่จะมีระบุไว้ในคำอธิบาย ผู้ใช้คาถาต้องมีมือว่างข้างหนึ่งเพื่อหยิบออกมา แต่ก็สามารถเป็นมือข้างเดียวกับที่ใช้ทำท่าร่างได้ ถ้ามี

ถ้าคาถาไม่ได้สังเวยวัตถุและไม่ได้ระบุราคาของมัน ผู้ใช้คาถาสามารถใช้ ถุงวัตถุประกอบคาถา (Component Pouch) (ดู บทที่ 6) แทนที่จะใช้วัตถุประกอบคาถาตามที่ระบุในรายละเอียดคาถา หรือผู้ใช้คาถาสามารถใช้ วัตถุรวมสมาธิ (Spellcasting Focus) มาแทนถ้าผู้ใช้คาถามีความสามารถที่จะใช้วัตถุรวมสมาธิมาแทนได้ ในการใช้ถุงวัตถุประกอบคาถา คุณต้องมีมือว่างข้างหนึ่งที่ใช้หยิบของได้ และการใช้วัตถุรวมสมาธิคุณต้องถือไว้ด้วย เว้นแต่ว่ามันมีอธิบายไว้เป็นอย่างอื่น (ดู บทที่ 6 อุปกรณ์ สำหรับคำอธิบาย)

ระยะเวลา (Duration)

ระยะเวลาคาถา เป็นจำนวนเวลาที่คาถาจะหายไปหลังการร่าย โดยปกติแล้วระยะเวลาจะอยู่ในรูปแบบดังนี้:

การเพ่งสมาธิ (Concentration). ระยะเวลาที่ต้องใช้การเพ่งสมาธิ จะทำตามกฏ การเพิ่งสมาธิ (Concentration) (ดู รายการกฏ)

โดยทันที (Instantaneous). การมีผลทันทีหมายถึงผลจากคาถาจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งหลังร่ายและหายไปทันที

ช่วงเวลาจะระบุเวลาที่คาถาจะคงอยู่เป็นจำนวนรอบ (round), นาที, ชั่วโมง ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ในช่อง “ระยะเวลา” ระบุว่า “1 นาที” หมายถึงคาถาจะจบลงหลังครบ 1 นาที ขณะที่ช่วงเวลาคาถากำลังดำเนินอยู่ คุณสามารถยกเลิกคาถาได้ (ไม่ต้องใช้แอ็คชัน) ถ้าคุณไม่ได้ติดสภาวะ ไร้ความสามารถ (Incapacitated)

ผลของคาถา (Effects)

ผลของคาถาจะมีรายละเอียดหลังระยะเวลาคาถา รายละเอียดจะระบุว่าคาถาทำอะไร ซึ่งจะเพิกเฉยต่อกฏทางฟิสิกส์ ผลนอกเหนือจากที่ระบุจะอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของ DM ไม่ว่าผลกระทบจากคาถาจะเป็นอะไร มันก็มักจะต้องมีเป้าหมาย, การทอยป้องกัน, การทอยโจมตี หรือมีทั้งสามอย่าง แต่ละอย่างจะมีรายละเอียดด้านล่าง

เป้าหมาย (Targets)

คาถาปกติจะต้องการใช้ผู้ใช้เลือกเป้าหมายหนึ่งหรือหลายสิ่งที่จะได้รับผลจากคาถา คำอธิบายคาถาจะบอกว่าเป้าหมายจะเป็นสิ่งมีชีวิต, วัตถุ, หรืออย่างอื่น

ไม่มีอะไรขวางทางไปถึงเป้าหมาย ในการเล็งคาถาไปที่เป้าหมาย ผู้ใช้คาถาต้องมองเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่มีอะไรมาขวาง ดังนั้นเป้าหมายจะอยู่หลัง ที่กำบังเต็ม (Total Cover) ไม่ได้

การใช้คาถากับตัวเอง ถ้าคาถามีเป้าหมายเป็นสิ่งมีชีวิตตามที่คุณเลือก คุณสามารถเลือกตัวคุณเองได้ เว้นแต่สิ่งมีชีวิตต้องเป็น ศัตรู (Hostile) หรือระบุไว้ว่าสิ่งมีชีวิตต้องเป็นคนอื่นนอกจากคุณ

พื้นที่รับผลคาถา บางคาถา เช่น Thunderwave ครอบคลุมพื้นที่ที่เรียกว่า พื้นที่รับผลคาถา (area of effect) ซึ่งมีรายละเอียดใน รายการกฏ พื้นที่จะเป็นตัวระบุว่าเป้าหมายจะเป็นใครบ้าง คำอธิบายคาถาจะระบุว่าคาถามีพื้นที่รับผลคาถาหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นที่จะมีรูปทรงดังนี้: ทรงกรวย (Cone)ทรงลูกบาศก์ (Cube)ทรงกระบอก (Cylinder)การแผ่ออร่า (Emanation)เส้นตรง (Line), หรือ ทรงกลม (Sphere)

การรูตัวว่าตกเป็นเป้าหมาย เว้นแต่ว่าคาถามีผลทางการรับรู้ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกำลังตกเป็นเป้าคาถา ผลจากคาถาอย่างสายฟ้านั้นชัดเจน แต่ผลกระทบที่มองไม่เห็นเช่นการพยายามอ่านใจ จะไม่สามารถรับรู้ได้เว้นแต่ว่าคาถาจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น

เป้าหมายที่ไม่ถูกต้อง ถ้าคุณใช้คาถากับบางคนหรือบางสิ่งที่ไม่สามารถรับผลของมันได้ จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับเป้าหมาย แต่ถ้าคุณใช้สล็อตคาถาในการร่ายคาถา คุณจะยังเสียสล็อตคาถาไปอยู่ดี

ถ้าคาถานั้นปกติแล้วไม่มีผลกับเป้าหมายที่ทอยป้องกันผ่าน เป้าหมายที่ไม่ถูกต้องจะถือว่าทอยป้องกันผ่านโดยอัตโนมัติ แม้ว่ามันจะไม่ได้ทอยอะไรเลยก็ตาม (จะไม่ให้คำใบอะไรว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นเป้าหมายที่ไม่ถูกต้อง) หรืออีกด้านหนึ่งคือคุณจะรับรูว่าคาถานั้นไม่มีผลใด ๆ กับเป้าหมาย

การทอยป้องกัน (Saving Throws)

คาถาหลายคาถาระบุให้เป้าหมายต้องทอยป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงผลจากคาถาบางส่วนหรือทั้งหมด คาถาจะระบุความสามารถที่เป้าหมายใช้สำหรับการทอยป้องกัน รวมถึงผลที่จะเกิดหากทอยผ่านหรือไม่ผ่าน นี่เป็นวิธีการคำนวณค่า DC สำหรับคาถาของคุณ:

ค่า DC การทอยป้องกันคาถา = 8 + ค่าโมดิไฟเออร์ความสามารถที่ใช้ในการใช้คาถา + ค่าโบนัสความชำนาญ

การทอยโจมตี (Attack Rolls)

บางคาถาต้องการใช้ผู้ใช้ทอยโจมตีเพื่อหาว่าคาถาโจมตีโดนเป้าหมายหรือไม่ นี่เป็นวิธีการคำนวณค่าโมดิไฟเออร์การทอยโจมตีสำหรับคาถาของคุณ:

ค่าโมดิไฟเออร์การทอยโจมตีด้วยคาถา (Spell attack modifier) = ค่าโมดิไฟเออร์ความสามารถที่ใช้ในการใช้คาถา + ค่าโบนัสความชำนาญ

การรวมผลจากคาถา (Combining Spell Effects)

ผลจากคาถาต่างกันจะให้ผลพร้อมกันขณะที่ช่วงเวลาซ้อนทับกัน ตรงกันข้าม ผลจากคาถาที่ใช้หลายครั้งจะไม่รวมกัน ในทางกลับกัน ผลจากคาถาที่ทรงพลังที่สุด เช่นมีค่าโบนัสสูงสุด จะถูกใช้งานแทนผลจากการร่ายอื่นในระยะเวลาที่ซ้อนทับกัน ผลจากคาถาที่ร่ายหลังสุดจะถูกนำมาใช้หากคาถามีพลังระดับเดียวกันและมีระยะเวลาที่ซ้อนทับกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเคลอริกสองคนใช้คาถา Bless กับเป้าหมายเดียวกัน เป้าหมายจะได้รับประโยชน์เพียงครั้งเดียว คือเป้าหมายจะไม่ได้รับลูกเต๋าโบนัสสองครั้ง แต่ถ้าระยะเวลาคาถาซ้อนทับกัน ผลจากคาถาจะต่อเนื่องไปจนกระทั่งระยะเวลาคาถา Bless ที่สองจบลง

การระบุคาถาที่กำลังดำเนินอยู่

คุณสามารถลองระบุคาถาที่ไม่เกิดขึ้นในทันทีได้จากผลที่สังเกตได้ หากคาถานั้นยังมีระยะเวลาต่อเนื่อง หากต้องการระบุคาถา คุณต้องใช้แอ็คชัน ศึกษา (Study) และทอยผ่านในการทอยทดสอบความฉลาด (Intelligence) DC 15 ทักษะ การรู้ตำนานลึกลับ (Arcana)