มอนสเตอร์ใช้ยังไง

มอนสเตอร์ทุกตัวเป็นแหล่งกำเนิดของการผจญภัย ในสารานุกรมมอนสเตอร์ของดันเจียนแอนด์ดรากอนนี้ คุณจะพบกับตัวประหลาด, สัตว์แปลกประหลาด, สิ่งสวยงามเลิศหรู, และน่าสยดสยอง เลือกที่คุณชอบและใช้มันเป็นสว่นหนึ่งในการเล่น D&D

นอกจาก คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) (2024) และ คู่มือดันเจียนมาสเตอร์ (Dungeon Master’s Guide) (2024) คู่มือมอนสเตอร์ (Monster Manual) ก็เป็นหนึ่งในแกนหลักและเป็นหนังสือที่ควรมีไว้ ในส่วนนี้เน้นที่ดันเจียนมาสเตอร์ (DMs) เป็นหลัก และให้รายละเอียดต่าง ๆ ของมอนสเตอร์ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู ที่จะถูกควบคุมโดย DM รายละเอียดเหล่านี้จะแสดงในสแต็ทบล็อค (stat blocks) ใน รายการสิ่งมีชีวิต (Creature Stat Blocks) จะแสดงรายละเอียดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เรียงตามตัวอักษร และมีเหล่าสัตว์รวมกันไว้ในช่วงท้าย

คุณสามารถใช้มอนสเตอร์เหล่านี้ได้พร้อมกับกฎสำหรับ การปรับแต่งมอนสเตอร์ และ การสร้างการเผชิญหน้า ใน คู่มือดันเจียนมาสเตอร์ เพื่อสร้างการผจญภัยของคุณเอง ดู ภาคผนวก B ของ คู่มือมอนสเตอร์ สำหรับรายชื่อมอนสเตอร์ที่จะช่วยในการสร้างการผจญภัยของคุณ

ข้อมูลทั่วไปของสแต็ทบล็อก

มอนสเตอร์มีสแต็ทบล็อกที่จะมีกฏที่จำเป็นในการใช้มันในเกม สแต็ทบล็อกจะแบ่งเป็นส่วน ๆ ตามรายการด้านล่างนี้ ซึ่งจะเป็นสแต็ทบล็อกตัวอย่างของ ทาสแวมไพร์:

1

ทาสแวมไพร์ (Vampire Familiar)

ขนาดกลางหรือเล็ก ร่างแบบมนุษย์, เป็นกลาง ชั่วร้าย

2

AC 15    ทอยจัดลำดับ +5 (15)

HP 65 (10d8 + 20)

ความเร็ว 30 ฟุต, ปีนป่าย 30 ฟุต

3

    Mod Save
STR 17 +3 +3
DEX 16 +3 +5
CON 15 +2 +2
    Mod Save
INT 10 +0 +0
WIS 10 +0 +2
CHA 14 +2 +2

4

ทักษะ การรับรู้ +4, การชักจูง +4, การลอบเร้น +7

ความต้านทาน การเน่าสลาย (Necrotic)

ภูมิคุ้มกัน การหลงใหล

อุปกรณ์ กริช (10)

ประสาทสัมผัส ดาร์ควิชัน 60 ฟุต, การรับรู้ตามธรรมชาติ 14

ภาษา คอมมอนกับอีกหนึ่งภาษา

CR 3 (XP 700; PB +2)

5

คุณสมบัติ (Traits)

การเชื่อมต่อกับแวมไพร์ ขณะที่ทาสแวมไพร์และเจ้านายแวมไพร์ของมันอยู่บนภพภูมิแห่งการคงอยู่เดียวกัน แวมไพร์สามารถสื่อสารกับทาสได้ทางโทรจิต และแวมไพร์สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสของทาสได้

6

แอ็คชัน

โจมตีหลายครั้ง ทาสแวมไพร์โจมตีด้วยกริชอัมบราลได้สองครั้ง

กริชอัมบราล (Umbral Dagger) ทอยโจมตีระยะประชิดหรือระยะไกล: +5, ระยะเอื้อม 5 ฟุต หรือระยะไกล 20/60 ฟุต โดน: ความเสียหายแบบแทง (Piercing) 5 (1d4 + 3) บวกความเสียหายแบบเน่าสลาย (Necrotic) 7 (3d4) ถ้าเป้าหมายฮิตพอยต์เหลือ 0 จากการโจมตีนี้ เป้าหมายจะกลับมาทรงตัวแต่จะติดสภาวะ ติดพิษ (Poisoned) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ขณะที่ติดพิษ เป้าหมายจะติดสภาวะ เป็นอัมพาต (Paralyzed) ด้วย

7

โบนัสแอ็คชัน

ความคล่องแคล่วไร้ความตาย (Deathless Agility) ทาสแวมไพร์จะใช้แอ็คชัน พุ่งตัว (Dash) หรือ ผละหนี (Disengage)

8

  1. ชื่อและรายละเอียดทั่วไป ชื่อของมอนสเตอร์ตามด้วยขนาด, ชนิดของสิ่งมีชีวิต (พร้อมกับแท็กอธิบาย), และแนวทางชีวิต

  2. ข้อมูลด้านการต่อสู้ ระดับการป้องกัน, ฮิตพอยต์, ความเร็ว, และลำดับการต่อสู้จะมีระบุไว้ในส่วนนี้

  3. คะแนนความสามารถ คะแนนความสามารถของมอนสเตอร์, ค่าโมดิไฟเออร์ของความสามารถ, และค่าโมดิไฟเออร์การทอยป้องกัน

  4. รายละเอียดอื่น ประสาทสัมผัสของมอนสเตอร์, ภาษา, และ CR จะระบุไว้ตรงส่วนนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมจะมีสำหรับมอนสเตอร์บางตัว เช่นความชำนาญในทักษะ, ความต้านทาน, ภูมิคุ้มกัน, และอุปกรณ์ ถ้ามอนสเตอร์ไม่มีข้อมูลเหล่านี้ ส่วนต่าง ๆ ก็จะไม่มีระบุไว้

  5. คุณสมบัติ (Traits) คุณสมบัติของมอนสเตอร์ที่จะเปิดใช้งานอยู่ตลอดเวลาหรือระหว่างสถานการณ์เฉพาะจะอยู่ในส่วนนี้

  6. แอ็คชัน มอนสเตอร์สามารถใช้แอ็คชันที่มีระบุตรงนี้เพิ่มเติมจากที่มีในคู่มือผู้เล่น

  7. โบนัสแอ็คชัน ส่วนนี้จะมีข้อมูลโบนัสแอ็คชันของมอนสเตอร์ (ถ้ามี)

  8. รีแอ็คชันและแอ็คชันระดับตำนาน ส่วนนี้จะมีข้อมูลรีแอ็คชันและแอ็คชันระดับตำนาน (ถ้ามี) มอนสเตอร์ตัวอย่างนี้ไม่มีสิ่งเหล่านั้น

ข้อมูลเสริมของมอนสเตอร์

ส่วนใหญ่ของหนังสือจะประกอบไปด้วยส่วนเสริมต่าง ๆ ของมอนสเตอร์ที่จะมีดังนี้ต่อจากส่วนของชื่อด้านบนสุด

ถิ่นที่อยู่

ถิ่นที่อยู่ของมอนสเตอร์จะระบุว่าปกติแล้วมอนสเตอร์อาศัยอยู่บริเวณไหน รายการของมอนสเตอร์ที่จัดกลุ่มตามถิ่นที่อยู่จะอยู่ใน ภาคผนวก B ของ คู่มือมอนสเตอร์

สมบัติ

สมบัติของมอนสเตอร์จะระบุว่ามอนสเตอร์สะสมสมบัติแบบใด และชนิดของสมบัติที่มันต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดด้านล่าง:

ทุกอย่าง สมบัติที่มอนสเตอร์สะสมเป็นกรุสมบัติอาจเป็นเงินทองและไอเท็มเวทย์มนต์ต่าง ๆ

ชนิดเดียว มอนสเตอร์อาจจะไม่สะสมสมบัติเป็นกรุสมบัติ แต่มันอาจจะเก็บสมบัติที่เป็นเงินทอง

สมบัติเฉพาะรูปแบบ (สมบัติจากตำนาน (Arcana), อาวุธ (Armaments), อุปกรณ์วิเศษ (Implements), หรือ สมบัติโบราณ (Relics)). กรุสมบัติของมอนสเตอร์อาจจะมีไอเท็มเวทย์มนต์ที่มีรูปแบบเฉพาะ คู่มือดันเจียนมาสเตอร์ มีรายละเอียดของ กรุสมบัติ ที่เหมาะสมกับแต่ละรูปแบบ

ไม่มีสมบัติ มอนสเตอร์ไม่สนใจสมบัติ สมบัติที่มอนสเตอร์มีจะได้มาโดยไม่ได้ตั้งใจ

สมบัติที่มอนสเตอร์มีจะอยู่ในรายการอุปกรณ์ในส่วนของ “อุปกรณ์” ในสแต็ทบล็อคของมัน

คู่มือดันเจียนมาสเตอร์ (Dungeon Master’s Guide) มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สมบัติของมอนสเตอร์

ข้อมูลสำหรับบรรยายในเกม

หลังจากข้อมูลแนะนำมอนสเตอร์แล้ว ต่อมาเป็นรายละเอียดที่จะใช้มอนสเตอร์ในสถานที่ที่อาจจะพบเจอมันได้ในมัลติเวิร์ส ปรับเปลี่ยนรายละเอียดเหล่านี้ให้เหมาะกับการผจญภัยของคุณ

รังพิเศษ

มอนสเตอร์บางชนิดจะปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบรังของมัน สำหรับมอนสเตอร์เหล่านั้น ผลจากพื้นที่โดยรอบจะมีระบุในส่วนของพื้นที่รัง ในสแต็ทบล็อกของมอนสเตอร์อาจจะมีส่วนเพิ่มเติมที่ทำให้มอนสเตอร์มีพลังอำนาจมากขึ้นขณะที่มันอยู่ในรัง

สแต็ทบล็อค

ในรายละเอียดมอนสเตอร์จะมีสแต็ทบล็อกอย่างน้อยสำหรับมอนสเตอร์หนึ่งชนิด เราจะมาดูรายละเอียดของสแต็ทบล็อคในส่วนต่อไป

ส่วนต่าง ๆ ของสแต็ทบล็อค

กฏสำหรับ สแต็ทบล็อค (stat block) มีรายละเอียดอยู่ใน รายการกฏ และในส่วนนี้

ขนาด

มอนสเตอร์มีขนาด จิ๋ว (Tiny), เล็ก (Small), กลาง (Medium), ใหญ่ (Large), ใหญ่มาก (Huge), หรือ มหึมา (Gargantuan) ถ้าขนาดมีให้เลือกหลายตัวเลือก ให้คุณเลือกขนาดของสิ่งมีชีวิตจากตัวเลือกเหล่านั้น ดู คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ ขนาด

ชนิดของสิ่งมีชีวิต

มอนสเตอร์มีแท็กที่ระบุชนิดของมัน คาถาบางอย่าง, ไอเท็มเวทย์มนต์, ความสามารถของคลาส, และผลพิเศษบางอย่างในเกมจะตอบสนองกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดแตกต่างกัน รายการของมอนสเตอร์ที่จัดกลุ่มตามชนิดของสิ่งมีชีวิตจะมีอยู่ในภาคผนวก B

เกมจะมีชนิดของสิ่งมีชีวิตตามด้านล่างนี้ ซึ่งไม่ได้มีกฏในตัวมันเอง:

อะเบอเรชัน (Aberrations) เป็นเอเลี่ยนต่างมิติอย่างแท้จริง เช่น เหล่าอะโบเลธ (aboleth), บีโฮลเดอร์ (beholders), ฟลัมฟ์ (flumphs), และเหล่ามายด์เฟลเยอร์ (mind flayers)

สัตว์ป่า (Beasts) เป็นสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่ไม่ได้มีร่างแบบมนุษย์ เช่น ม้าและหมาป่า รวมถึงสัตว์ยักษ์ต่าง ๆ

เซเลสเทียล (Celestials) เป็นสิ่งมีชีวิตเวทย์มนต์ เช่นเทวฑูตและเปกาซี (pegasi) ซึ่งจะยึดโยงกับภพภูมิเบื้องบน (Upper Planes)

คอนสตรักซ์ (Constructs) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเวทย์มนต์ เช่นโฮมุนคุลี (homunculi), โมดรอน (modrons), และผู้พิทักษ์โล่ (shield gardians)

มังกร - ดราก้อน (Dragons) เป็นสิ่งมีชีวิตผิวเป็นเกล็ดมีชีวิตมาแต่ครั้งโบราณกาล เช่นมังกรแดงและไวร์เวิร์น

วิญญาณธาตุ - เอเลเมนทัล (Elementals) เป็นสิ่งมีชีวิตจากภพภูมิแห่งธาตุ (Elemental Planes) เช่น อีฟรีทและวิญญาณธาตุน้ำ

ภูติ - เฟย์ (Fey) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยึดโยงกับโลกเฟย์ไวลด์ (Feywild) หรือเหล่าพลังแห่งธรรมชาติ เช่นดรายยาด, ก๊อบลิน, และพิกซี่

มาร - ฟีนด์ (Fiends) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยึดโยงกับภพภูมิเบื้องล่าง (Lower Planes) อันน่าสยดสยอง เช่น บาลอร์และหมานรก (hell hounds)

ยักษ์ (Giants) เป็นสิ่งมีชีวิตตัวสูงใหญ่ที่มีร่างคล้ายมนุษย์ เช่นไซคลอป, ยักษ์ไฟ, และโทรล

สิ่งมีชีวิตร่างมนุษย์ (Humanoids) เป็นผู้คนที่มีบทบาทหน้าที่และและอาชีพ เช่นนักเวทย์, โจรสลัด, และนักรบ พวกเขามีหลายสปีชีส์รวมกัน

อสุรกาย - มอนสโตรซิตี (Monstrosities) เป็นสิ่งมีชีวิตผิดธรรมชาติที่มีต้นกำเนิดลึกลับ เช่นมิมิคและอาวแบร์หมีนกฮูก

อูซ (Oozes) เป็นสิ่งมีชีวิตตัวคล้ายวุ้นสไลม์ รวมถึงพุดดิ้งดำและก้อนวุ้นแห่งการทำลายล้าง

พืช (Plants) เป็นพืชที่มีปัญญาและมอนสเตอร์เห็ดรา เช่นไมโคนิด (myconids), เนินดินที่โยกเยก (shambling mounds) และทรีเอนท์ (treants)

อันเดด (Undead) เป็นเหล่าวิญญาณและศพที่ถูกปลุกชีพ เช่นผี, แวมไพร์, และซอมบี้

แท็กคำอธิบาย

มอนสเตอร์อาจจะมีแท็กในวงเล็บหนึ่งหรือสองแท็กหลังจากชนิดของมัน แท็กนี้จะให้คำอธิบายเพิ่มเติมในการจัดหมวดหมู่และไม่มีกฏเป็นของตัวเอง แต่ผลกระทบในเกมบางอย่างอาจจะใช้มัน รายการของกลุ่มของมอนสเตอร์ที่เกี่ยวโยงกันโดยแท็กคำอธิบายนี้จะมีใน ภาคผนวก B ของ คู่มือมอนสเตอร์ (Monster Manual)

แนวทางชีวิต (Alignment)

แนวทางชีวิตที่ระบุในสแต็ทบล็อคของมอนสเตอร์เป็นค่าเริ่มต้นที่แนะนำสำหรับการสวมบทบาทเป็นมอนสเตอร์ ได้รับแรงบันดาลใจากบทบาทตามตำนานในเกมหรือเรื่องเล่าในโลกของเรา คุณเปลี่ยนแนวทางชีวิตของมอนสเตอร์ได้ตามเรื่องราวที่คุณเล่า อย่างความเป็นกลาง (Neutral) เป็นการเชื้อเชิญให้คุณพิจารณาว่าจริง ๆ แล้วสิ่งมีชีวิตนี้เอนเอียงไปทางไหนกันแน่

คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) อธิบายถึง แนวทางชีวิต 9 แบบ และ สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีแนวทางชีวิต.

ระดับการป้องกัน (Armor Class)

ระดับการป้องกัน (AC) ของมอนสเตอร์จะรวมถึงเกราะตามธรรมชาติ, ความคล่องแคล่ว, อุปกรณ์ป้องกัน, และการป้องกันอื่น ๆ ดู คู่มือผู้เล่น สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ ระดับการป้องกัน

ลำดับการต่อสู้ (Initiative)

ค่าลำดับการต่อสู้ในสแต็ทบล็อคจะระบุค่าโมดิไฟเออร์การทอยจัดลำดับการต่อสู้ของมอนสเตอร์ ตามมาด้วยคะแนนการจัดลำดับในวงเล็บ ใช้ค่าโมดิไฟเออร์เมื่อคุณใช้การทอยเพื่อจัดลำดับการต่อสู้ของมอนสเตอร์ ค่าโมดิไฟเออร์การจัดลำดับการต่อสู้ของมอนสเตอร์มักจะเท่ากับค่าโมดิไฟเออร์ความคล่องแคล่ว (Dexterity) ของมัน แต่มอนสเตอร์บางชนิดก็มีค่าโมดิไฟเออร์เพิ่มพิเศษ เช่นค่าโบนัสความชำนาญที่เพิ่มเข้ามา

ถ้าคุณไม่อยากทอยจัดลำดับการต่อสู้ให้มอนสเตอร์ ใช้คะแนนจัดลำดับการต่อสู้เลยก็ได้ การทอยจัดลำดับการต่อสู้ (Initiative) มีอธิบายเพิ่มเติมใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

ฮิตพอยต์

ฮิตพอยต์ของมอนสเตอร์แสดงเป็นตัวเลขและตามด้วยวงเล็บ ที่จะมีลูกเต๋าฮิตพอยต์ (ฮิตไดซ์) ของมอนสเตอร์ระบุอยู่ พร้อมทั้งค่าที่ได้จากคะแนนความอดทนของมัน (ถ้ามี) ไม่ว่าจะใช้จำนวนจากค่าฮิตพอยต์หรือทอยจากฮิตไดซ์เพื่อหาฮิตพอยต์ของมอนสเตอร์แบบสุ่ม ต้องเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

โดยปกติแล้วขนาดของมอนสเตอร์จะเป็นตัวกำหนดลูกเต๋าฮิตพอยต์ที่ใช้ในการคำนวณหาฮิตพอยต์ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

ฮิตไดซ์ตามขนาดตัว

ขนาดของมอนสเตอร์ ฮิตไดซ์ ค่า HP เฉลี่ยต่อลูกเต๋า
จิ๋ว (Tiny) d4
เล็ก (Small) d6
กลาง (Medium) d8
ใหญ่ (Large) d10
ใหญ่มาก (Huge) d12
มหึมา (Gargantuan) d20 10½

ค่าโมดิไฟเออร์ความอดทนของมอนสเตอร์จะนำมาคูณกับจำนวนลูกเต๋าฮิตพอยต์ถ้ามันมีอยู่ และผลลัพท์ที่ได้จะไปเพิ่มในฮิตพอยต์ของมัน ตัวอย่างเช่น ถ้ามอนสเตอร์มีคะแนนความอดทน 12 (ค่าโมดิไฟเออร์ +1) และมีลูกเต๋าฮิตพอยต์ 2d8 มันจะมี 2d8 + 2 ฮิตพอยต์ (เฉลี่ย 11)

For more on Hit Points, see the Player’s Handbook.

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฮิตพอยต์ (Hit Points) ดูได้จาก คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

ความเร็ว (Speed)

The Speed entry specifies a monster’s Speed. Some monsters have one or more of the following speeds: BurrowClimbFlySwim. Rules for Speed and these specials speeds appear in the Player’s Handbook.

ส่วนของความเร็ว (Speed) จะระบุความเร็วของมอนสเตอร์ มอนสเตอร์บางชนิดมีความเร็วหลายแบบจากรายการนี้: ดำดิน (Burrow)ปีนป่าย (Climb)บิน (Fly)ว่ายน้ำ (Swim) กฏสำหรับ ความเร็ว (Speed) และความเร็วพิเศษเหล่านี้มีอยู่ใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

คะแนนความสามารถ (Ability Scores)

Every monster has six ability scores along with corresponding ability score modifiers and saving throw modifiers. For more information on ability scores and saving throws, see the Player’s Handbook.

มอนสเตอร์ทุกตัวมีคะแนนความสามารถ 6 อย่างรวมถึงค่าโมดิไฟเออร์ของความสามารถและการทอยป้องกัน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คะแนนความสามารถ แและ การทอยป้องกัน ดูได้ใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

ทักษะ (Skills)

ส่วนของทักษะจะระบุความชำนาญ (proficiencies) ในทักษะของมอนสเตอร์ (ถ้ามี) ตัวอย่างเช่น มอนสเตอร์ที่มีการรับรู้เฉียบคมและมีทักษะการลอบเร้นอาจจะมีโบนัสสำหรับการทอยทดสอบความรอบรู้ (Wisdom) ทักษะ การรับรู้ (Perception) และความคล่องแคล่ว (Dexterity) ทักษะ การลอบเร้น (Stealth) โบนัสสำหรับทักษะจะเป็นผลรวมของค่าโมดิไฟเออร์ที่เกี่ยวข้องและโบนัสความชำนาญของมอนสเตอร์ อาจมีค่าโมดิไฟเออร์อื่น ๆ นำมาใช้ได้อีก

ความต้านทานและจุดอ่อน (Resistances and Vulnerabilities)

ส่วนนี้จะเป็นรายการ ความต้านทาน (Resistances) และ จุดอ่อน (Vulnerabilities) ของมอนสเตอร์ (ถ้ามี) ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

ภูมิคุ้มกัน (Immunities)

ส่วนนี้จะเป็นรายการ ภูมิคุ้มกัน (Immunities) ของมอนสเตอร์ (ถ้ามี) ถ้ามอนสเตอร์ได้รับความเสียหายและสภาวะที่มันมีภูมิคุ้มกันอยู่ ชนิดความเสียหายจะแสดงไว้ก่อนสภาวะ ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

อุปกรณ์ (Gear)

มอนสเตอร์มีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ของมัน ถ้ามอนสเตอร์มีอุปกรณ์ที่สามารถให้หรือรับได้ ไอเท็มนั้นจะมีรายการอยู่ในส่วนของอุปกรณ์ (Gear) สแต็ทบล็อคของมอนสเตอร์อาจจะมีระบุไว้ถึงความพิเศษเมื่อมอนสเตอร์ใช้ไอเท็มหนึ่ง และสแต็ทบล็อคอาจจะไม่ใช้กฏจาก คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) สำหรับไอเท็มนั้น เมื่อใช้ไอเท็มโดยคนอื่น ไอเท็มนั้นจะยึดตาม คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) โดยไม่สนใจผลพิเศษที่มีในสแต็ทบล็อค

ส่วนของอุปกรณ์จะไม่ได้ระบุถึงอุปกรณ์ทั้งหมดของมอนสเตอร์นั้น ตัวอย่างเช่น มอนสเตอร์ที่สวมเสื้อผ้าจะถือว่ามันแต่งตัวเหมาะสม และเสื้อผ้าเหล่านั้นจะไม่รวมอยู่ในส่วนนี้

อุปกรณ์ที่ระบุอยู่นอกส่วนของอุปกรณ์จะถือว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติหรือมีความเฉพาะตัวสูง และมันจะใช้ไม่ได้อีกเมื่อมอนสเตอร์ถูกปราบลงแล้ว

กระสุนและการโจมตีระยะไกล

มอนสเตอร์ที่ต้องใช้กระสุนในการโจมตีระยะไกลจะมีกระสุนที่ต้องใช้อยู่เสมอ

การเพิ่มอุปกรณ์เพิ่มเติมให้มอนสเตอร์

คุณอาจจะเพิ่มอุปกรณ์ให้มอนสเตอร์ได้ตามต้องการ ใช้ข้อมูลในบท อุปกรณ์ ใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) ประกอบ คุณอาจจะกำหนดอุปกรณ์ที่สามารถเก็บกู้ได้หลังจากมอนสเตอร์ถูกปราบแล้วรวมถึงสภาพของอุปกรณ์ว่ายังใช้ได้อยู่หรือไม่

ให้ระวังการให้ไอเท็มเวทย์มนต์ที่เน้นการต่อสู้กับมอนสเตอร์ เพราะไอเท็มเหล่านั้นอาจจะปรับเปลี่ยนระดับความท้าทายของมอนสเตอร์ได้ ถ้าคุณให้ไอเท็มเวทย์มนต์แก่มอนสเตอร์ มอนสเตอร์สามารถทำการเชื่อมประสาน (Attunement) กับไอเท็มดังที่ระบุใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) มอนสเตอร์ที่มีแท็กคลาสหลังชนิดของสิ่งมีชีวิตเป็นการกำหนดว่ามอนสเตอร์เป็นสมาชิกของคลาสใดเพื่อกำหนดการเชื่อมประสาน

ประสาทสัมผัส (Senses)

ส่วนของประสาทสัมผัสจะกำหนดคะแนนการรับรู้ตามธรรมชาติของมอนสเตอร์ (Passive Perception) รวมถึงสัมผัสพิเศษที่มอนสเตอร์มี การรับรู้ตามธรรมชาติ (Passive Perception) และ ประสาทสัมผัสพิเศษ (special senses) มีอธิบายใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

ภาษา

ส่วนนี้จะเป็นรายการภาษาที่มอนสเตอร์สามารถใช้ในการสื่อสารได้ บางครั้งมอนสเตอร์สามารถเข้าใจภาษาแต่ไม่สามารถสื่อสารได้ ซึ่งจะระบุว่า “ไม่มี (None)” เพื่อแสดงว่ามอนสเตอร์ไม่สามารถใช้ภาษาใด ๆ ได้

โทรจิต (Telepathy)

โทรจิต (Telepathy) เป็นความสามารถทางเวทย์มนต์ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสื่อสารกันโดยใช้จิตใจภายในระยะที่ระบุ ดู คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ระดับความท้าทาย (Challenge Rating)

ระดับความท้าทาย (Challenge Rating) มีคำจำกัดความใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) ขณะที่มีแนวทางการใช้ CR เพื่อ วางแผนการเผชิญหน้าแบบการต่อสู้ ซึ่งอยู่ใน คู่มือดันเจียนมาสเตอร์ (Dungeon Master’s Guide) รายการของมอนสเตอร์จัดกลุ่มตามระดับความท้าทายจะอยู่ใน ภาคผนวก B ของ คู่มือมอนสเตอร์ (Monster Manual)

ค่าประสบการณ์ (Experience Points)

จำนวนของค่าประสบการณ์ (XP) จากมอนสเตอร์จะอิงกับค่า CR ของมัน ซึ่งจะระบุในตารางด้านล่างนี้ XP จะเป็นรางวัลสำหรับการปราบมอนสเตอร์ในการต่อสู้ลงได้หรืออีกทางหนึ่งคือการทำให้มอนสเตอร์ต่อสู้ต่อไปไม่ได้

เว้นแต่มีกฏระบุไว้เป็นอย่างอื่น มอนสเตอร์ที่ถูกอัญเชิญมาด้วยคาถาหรือความสามารถทางเวทย์มนต์อื่นจะให้ค่า XP ตามในสแต็ทบล็อคของมัน

ค่าประสบการณ์ตามระดับความท้าทาย
CR XP
0 0 or 10
1/8 25
1/4 50
1/2 100
1 200
2 450
3 700
4 1,100
5 1,800
6 2,300
7 2,900
8 3,900
9 5,000
10 5,900
11 7,200
12 8,400
13 10,000
14 11,500
15 13,000
16 15,000
17 18,000
18 20,000
19 22,000
20 25,000
21 33,000
22 41,000
23 50,000
24 62,000
25 75,000
26 90,000
27 105,000
28 120,000
29 135,000
30 155,000

โบนัสความชำนาญ (Proficiency Bonus)

โบนัสความชำนาญ (PB) ของมอนสเตอร์จะถูกกำหนดโดย CR ดังที่แสดงในตารางโบนัสความชำนาญต่อระดับความท้าทาย และมันจะสะท้อนให้เห็นถึงค่าการทอยป้องกัน, ทักษะ, และค่าสถิติต่าง ๆ ที่มอนสเตอร์มีความชำนาญ

ตารางค่าโบนัสความชำนาญต่อระดับความท้าทาย
CR PB
0–4 +2
5–8 +3
9–12 +4
13–16 +5
17–20 +6
21–24 +7
25–28 +8
29–30 +9

คุณสมบัติ (Traits)

คุณสมบัติของมอนสเตอร์ (ถ้ามี) เป็นความสามารถที่จะเปิดใช้อยู่ตลอดเวลาหรือในในบางสถานการณ์

การรันมอนสเตอร์

เพื่อให้แน่ใจว่ามอนสเตอร์จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมาะสมกับระดับความท้าทายของมัน ให้ทำตามกฏเหล่านี้เมื่ออยู่ในการต่อสู้:

ความสามารถพิเศษ ถ้ามอนสเตอร์มีความสามารถพิเศษที่จะสร้างความเสียหายได้มากแต่มีจำนวนครั้งที่ใช้ได้จำกัด เช่นอาวุธจากลมหายใจที่ต้องชาร์จใหม่ หรือคาถาที่จะใช้ได้แค่วันละครั้ง ให้ใช้ความสามารถเหล่านั้นให้เร็วที่สุดและให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

การโจมตีได้หลายครั้ง (Multiattacks) ถ้ามอนสเตอร์สามารถโจมตีได้หลายครั้งในเทิร์นเดียว ให้มันใช้การโจมตีหลายครั้งนี้ในเทิร์นที่ไม่ได้ใช้ความสามารถพิเศษหรือการโจมตีที่มีอำนาจมากกว่า

โบนัสแอ็คชัน, รีแอ็คชัน, แอ็คชันระดับตำนาน (Legendary Actions) ถ้ามอนสเตอร์มีโบนัสแอ็คชัน, รีแอ็คชัน, หรือแอ็คชันระดับตำนานในสแต็ทบล็อค อย่าลืมใช้แบบจัดเต็ม

แอ็คชัน

มอนสเตอร์ตัวหนึ่งสามารถใช้แอ็คชันในส่วนนี้หรือใช้แอ็คชันหนึ่งใน รายการแอ็คชันที่มีให้สำหรับทุกสิ่งมีชีวิต ดังที่อธิบายใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

สัญลักษณ์การโจมตี (Attack Notation)

เป้นส่วนสำหรับระบุการโจมตีของมอนสเตอร์ว่าเป็นการโจมตีแบบประชิดตัวหรือแบบระยะไกล และต่อมาเป็นโบนัสในการทอยโจมตี, เป็นระยะเอื้อมหรือระยะไกล, และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโจมตีโดน ปกติแล้วจะเป็นการโจมตีเป้าหมายเดียวเว้นแต่ว่าจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น สำหรับรายละเอียด การโจมตีในหลากหลายแบบ ดู คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

โดน (Hit) ความเสียหายที่ทำได้หรือผลกระทบอื่นที่จะเกิดขึ้นเป็นผลลัพท์ของการโจมตีเป้าหมาย จะอธิบายหลัง สัญลักษณ์ “โดน:

พลาด (Miss) ถ้าการโจมตีมีผลที่จะเกิดขึ้นหากโจมตีพลาด จะมีคำอธิบายหลังสัญลักษณ์ “พลาด:

โดนหรือพลาด (Hit or Miss) ถ้าการโจมตีมีผลที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าโจมตีโดนหรือพลาดเป้าหมาย จะมีคำอธิบายหลังสัญลักษณ์ “โดนหรือพลาด:

สัญลักษณ์การทอยป้องกัน

ถ้ามีผลกระทบที่บังคับให้ต้องทอยป้องกัน ผลกระทบนั้นจะระบุชนิดของการทอยป้องกันที่ต้องการและต่อมาจะระบุระดับความยากในการทอย (save DC), คำอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตใดที่ต้องทอย, และอธิบายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากทอยไม่ผ่านหรือทอยผ่าน

“ได้รับความเสียหายเพียงครึ่งเดียว” จากการทอยผ่านหมายถึงเป้าหมายจะได้รับความเสียหายครึ่งเดียว (ปัดเศษลง) จากเป้าหมายที่ทอยไม่ผ่าน และจะไม่ได้รับผลกระทบในส่วนอื่น

สัญลักษณ์ความเสียหาย

สแต็ทบล็อคมักจะมีข้อมูลของทั้งจำนวนและสัญลักษณ์ลูกเต๋าสำหรับความเสียหายแต่ละแบบ ตัวอย่างเช่น การโจมตีอาจจะสร้างความเสียหาย 4 (1d4 + 2) เมื่อโจมตีโดน คุณตัดสินใจได้ว่าจะใช้ตัวเลขหรือจะใช้สัญลักษณ์ลูกเต๋าในวงเล็บเพื่อทอยหาความเสียหาย แต่ต้องเลือกอันใดอันหนึ่ง

การโจมตีหลายครั้ง

สิ่งมีชีวิตบางชนิดสามารถโจมตีได้มากกว่าหนึ่งครั้งเมื่อพวกมันใช้แอ็คชัน โจมตี (Attack) สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะมีส่วนที่เขียนว่า โจมตีหลายครั้ง (Multiattack) ในส่วนของ “แอ็คชัน” ในสแต็ทบล็อค ส่วนนี้จะมีรายละเอียดของลักษณะการโจมตีที่สิ่งมีชีวิตสามารถทำได้ รวมถึงความสามารถอื่นที่มันสามารถใช้ได้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแอ็คชัน โจมตี (Attack)

การใช้คาถา

ถ้ามอนสเตอร์สามารถร่ายคาถาได้ สแต็ทบล็อคของมันจะมีรายการคาถาและข้อมูลความสามารถในการใช้คาถาของมอนสเตอร์, ระดับความยากในการทอยป้องกันคาถา (spell save DC) (ถ้ามีคาถาใดที่ใช้ต้องการการทอยป้องกัน), และโบนัสการโจมตีด้วยคาถา (ถ้ามีคาถาใดที่ต้องใช้การทอยโจมตี) เว้นแต่ว่ามีระบุไว้เป็นอย่างอื่น คาถาเลเวล 1 หรือสูงกว่าจะร่ายด้วยสล็อตคาถาเลเวลต่ำสุดของมันและจะไม่สามารถใช้คาถากับสล็อตคาถาเลเวลสูงกว่าได้

คาถาของมอนสเตอร์สามารถมีกฏหรือข้อจำกัดพิเศษ เช่น สลาดเขียว (green slaad) สามารถร่ายคาถา ล่องหนหายตัว (Invisibility) แต่คาถาจะมีข้อจำกัดที่ “ใช้กับตัวเองเท่านั้น” ซึ่งหมายถึงคาถาจะมีผลกับสลาดเท่านั้น

ส่วนประกอบคาถา ความสามารถในการใช้คาถาจะระบุว่าการใช้คาถาของมอนสเตอร์จะไม่ต้องใช้สวนประกอบคาถาในบางอย่าง ถ้ามีส่วนประกอบที่ต้องใช้ อธิบายว่ามอนสเตอร์ใช้การออกเสียง, การทำท่าร่าง, หรือการใช้วัตถุประกอบคาถาเพื่อเป็นสัญญาณบอกตัวละครว่ามันกำลังจะใช้คาถา มอนสเตอร์ที่ต้องใช้ส่วนประกอบคาถาจะมีสิ่งนั้นอยู่พร้อมเสมอ

ระยะเวลาร่ายคาถาที่นานกว่า 1+ นาที ถ้าคาถามีระยะเวลานานกว่า 1 นาทีและมีอยู่ในรายการคาถาที่ใช้ได้ มอนสเตอร์จะไม่ร่ายคาถาโดยใช้แอ็คชันเดียวเว้นแต่จะมีระบุไว้เป็นอย่างอื่น มอนสเตอร์จะต้องใช้แอ็คชัน ใช้คาถา (Magic) ในแต่ละเทิร์นของมันเพื่อคงสภาพการ เพ่งสมาธิ (Concentration) ในการร่ายคาถา ดังที่อธิบายไว้ใน คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook)

โบนัสแอ็คชัน

ถ้ามอนสเตอร์มีโบนัสแอ็คชันให้ใช้ได้ มันจะระบุเป็นรายการในส่วนนี้ ดู คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) สำหรับรายละเอียดของ โบนัสแอ็คชัน (Bonus Actions)

รีแอ็คชัน

ถ้ามอนสเตอร์มีรีแอ็คชันให้ใช้ได้ มันจะระบุเป็นรายการในส่วนนี้รวมถึงสิ่งกระตุ้นให้ใช้ได้ ดู คู่มือผู้เล่น (Player’s Handbook) สำหรับรายละเอียดของ รีแอ็คชัน (Reactions)

แอ็คชันระดับตำนาน (Legendary Actions)

ถ้ามอนสเตอร์มีแอ็คชันระดับตำนานให้ใช้ มันจะระบุเป็นรายการในส่วนนี้ แอ็คชันระดับตำนานเป็นแอ็คชันที่มอนสเตอร์สามารถใช้ได้ทันทีหลังเทิร์นของสิ่งมีชีวิตอื่น จะใช้ได้เพียงหนึ่งอย่างในหนึ่งครั้งและต้องเป็นหลังจากเทิร์นของสิ่งมีชีวิตอื่น มอนสเตอร์จะไม่สามารถใช้แอ็คชันระดับตำนานได้ถ้ามันติดสภาวะ ไร้ความสามารถ (Incapacitated) หรืออีกนัยหนึ่งคือมอนสเตอร์ไม่สามารถใช้แอ็คชันใด ๆ ได้

มอนสเตอร์จะมีจำนวนแอ็คชันระดับตำนานให้ใช้ได้เป็นจำนวนจำกัด และจำนวนนั้นจะระบุไว้ในสแต็ทบล็อค มอนสเตอร์จะจ่ายการใช้หนึ่งครั้งเพื่อใช้แอ็คชันระดับตำนาน และมันจะได้รับจำนวนครั้งที่ใช้ไปคืนเมื่อเริ่มเทิร์นใหม่ของมัน

ความสามารถที่มีจำนวนจำกัด

บางส่วนของสแต็ทบล็อคจะมีข้อจำกัดเป็นจำนวนครั้งที่ใช้ได้ ด้านล่างนี้เป็นลักษณะของข้อจำกัดที่จะพบได้บ่อย:

X/วัน สัญลักษณ์นี้หมายถึงส่วนของสแต็ทบล็อคนี้จะใช้ได้เป็นจำนวนครั้ง (ระบุที่ตัว X) และมอนสเตอร์นั้นต้องจบการพักยาวเพื่อจะได้รับจำนวนครั้งที่ใช้ไปคืน ตัวอย่างเช่น รีแอ็คชันที่ระบุว่า “1/วัน” หมายถึง รีแอ็คชันสามารถใช้ได้หนึ่งครั้งและมอนสเตอร์นั้นต้องจบการพักยาวก่อนเพื่อจะใช้ได้อีกครั้ง

ชาร์จใหม่ X–Y. สัญลักษณ์นี้หมายถึงมอนสเตอร์สามารถใช้ส่วนนี้ของสแต็ทบล็อคได้หนึ่งครั้ง เมื่อเริ่มเทิร์นของมอนสเตอร์ให้ทอย 1d6 ถ้าผลลัพธ์อยู่ในช่วงที่ระบุไว้ในสัญลักษณ์ (ระบุที่ตัว X-Y) มอนสเตอร์จะกลับมาใช้ความสามารถนั้นอีกครั้ง ความสามารถจะชาร์จใหม่เมื่อจบการพักสั้นหรือพักยาวด้วย ตัวอย่างเช่น “ชาร์จใหม่ 5-6” ในแอ็คชันหมายถึงมอนสเตอร์สามารถใช้แอ็คชันนั้นได้หนึ่งครั้ง ต่อมา เมื่อเริ่มเทิร์นใหม่ มันจะได้จำนวนครั้งที่ใช้ได้คืนมาเมื่อมันทอยได้ 5 หรือ 6 ในการทอย 1d6

ชาร์จใม่หหลังการพักสั้นหรือพักยาว สัญชักษณ์นี้หมายถึงมอนสเตอร์สามารถใช้ส่วนนี้ของสแต็ทบล็อคได้หนึ่งครั้งและต้องจบการพักสั้นหรือพักยาวเพื่อจะได้ใช้ครั้งใหม่

การเทียบเคียงมอนสเตอร์

มอนสเตอร์ทุกตัวใน คู่มือมอนสเตอร์ (Monster Manual) ปี 2014 ที่มีปรากฏใน คู่มือมอนสเตอร์ (Monster Manual) ปี 2025 หรือได้รับการปรับ CR ให้เหมาะสม ถ้าคุณใช้ข้อมูลที่ตีพิมพ์ก่อนหนังสือเล่มนี้และไม่สามารถหาสแต็ทบล็อคที่ต้องการได้ ให้ดูในตารางการเทียบเคียงมอนสเตอร์ด้านล่างนี้เพื่อหาสแต็ทบล็อคที่ใช้แทนกันได้

ตารางการเทียบเคียงมอนสเตอร์

สแต็ทบล็อค 2014 ที่มีเทียบเคียงได้ในปี 2025 Equivalent
อาราโคครา (Aarakocra) หน่วยสอดแนมอาราโคครา (Aarakocra Skirmisher)
อะโคไลท์ (Acolyte) สาวกนักบวช (Priest Acolyte)
ดราโคลิชน้ำเงินเต็มวัย (Adult Blue Dracolich) ดราโคลิช (Dracolich)
แอนโดรสฟิงค์ (Androsphinx) สฟิงค์แห่งเกียรติ (Sphinx of Valor)
เอเซอร์ (Azer) เอเซอร์เซนติเนล (Azer Sentinel)
บักแบร์ (Bugbear) นักรบบักแบร์ (Bugbear Warrior)
บุลลี่วัก (Bullywug) นักรบบุลลี่วัก (Bullywug Warrior)
เซนทอร์ (Centaur) พลทหารเซนทอร์ (Centaur Trooper)
สาวกคลั่ง (Cult Fanatic) สาวกลัทธิคลั่ง (Cultist Fanatic)
ไซคลอป (Cyclops) ทหารยามไซคลอป (Cyclops Sentry)
ดีพโนม (Deep Gnome) พลลาดตระเวน (Scout)
ดราว (Drow) สาวกนักบวช (Priest Acolyte)
นักรบดราวชั้นสูง (Drow Elite Warrior) กลาดิเอเตอร์ (Gladiator)
นักเวทย์ดราว (Drow Mage) โจรนักต้มตุ๋น (Bandit Deceiver)
นักบวชดราวหญิงแห่งโลธ (Drow Priestess of Lolth) สาวกคลั่งชาวปีศาจ (Fiend Cultist)
ดูเออร์การ์(Duergar) สปาย (Spy)
ดูโอโดรน (Duodrone) โมดรอนดูโอโดรน (Modron Duodrone)
มังกรแฟรี่ (Faerie Dragon) (ถ้าสีเขียว, น้ำเงิน, คราม, หรือม่วง) มังกรแฟรี่เต็มวัย (Faerie Dragon Adult)
มังกรแฟรี่ (Faerie Dragon) (ถ้าสีแดง, ส้ม, หรือเหลือง) มังกรแฟรี่วัยเยาว์ (Faerie Dragon Youth)
งูไฟ (Fire Snake) งูไฟซาลามานเดอร์ (Salamander Fire Snake)
ดาบบิน (Flying Sword) ดาบบินมีชีวิต (Animated Flying Sword)
แก็สสปอร์ (Gas Spore) แก๊สสปอร์ฟังกัส (Gas Spore Fungus)
งูพิษยักษ์ (Giant Poisonous Snake) งูพิษยักษ์ (Giant Venomous Snake)
โนล (Gnoll) นักรบโนล (Gnoll Warrior)
กอบลิน (Goblin) นักรบก๊อบลิน (Goblin Warrior)
จ่าฝูงกริค (Grick Alpha) กริคดึกดำบรรพ์ (Grick Ancient)
ไจโนสฟิงค์ (Gynosphinx) สฟิงค์แห่งตำนาน (Sphinx of Lore)
ฮาร์ฟโอเกอร์ (โอกิลออน) (Half-Ogre (Ogrillon)) โอกริลออน โอเกอร์ (Ogrillon Ogre)
ลูกครึ่งมังกรแดงเจนศึก (Half-Red Dragon Veteran) ครึ่งมังกร (Half-Dragon)
ฮอพก๊อบลิน (Hobgoblin) นักรบฮอบก็อบลิน (Hobgoblin Warrior)
โคโบล์ด (Kobold) นักรบโคโบล์ด (Kobold Warrior)
ชาวเลื้อยคลาน (Lizardfolk) พลลาดตระเวน (Scout)
หมอผีชาวเลื้อยคลาน (Lizardfolk Shaman) ชาวเลื้อยคลาน นักภูมิพยากรณ์ (Lizardfolk Geomancer)
ราชวงศ์ชาวเลื้อยคลาน (Lizard King/Queen) ราชวงศ์ชาวเลื้อยคลาน (Lizardfolk Sovereign)
เมอร์โฟลค (Merfolk) หน่วยสอดแนมเมอร์โฟล์ค (Merfolk Skirmisher)
มิโนทอร์ (Minotaur) มิโนทอร์แห่งบาร์โฟเมท (Minotaur of Baphomet)
โมโนโดรน (Monodrone) โมดรอน โมโนโดรน (Modron Monodrone)
ออร์ค (Orc) นักเลง (Tough)
ออร์ค ดวงตาแห่งกรุมส์ (Orc Eye of Gruumsh) สาวกลัทธิคลั่ง (Cultist Fanatic)
ออร์ค หัวหน้าเผ่า (Orc War Chief) หัวหน้านักเลง (Tough Boss)
โอรอก (Orog) นักรบคลั่ง (Berserker)
เพนตะโดรน (Pentadrone) โมดรอน เพนตะโดรน (Modron Pentadrone)
งูพิษ (Poisonous Snake) งูพิษ (Venomous Snake)
ควาโดรน (Quadrone) โมดรอน ควาดรอน (Modron Quadrone)
ควากกอธทาสสปอร์ (Quaggoth Spore Servant) ทาสไมโคนิดสปอร์ (Myconid Spore Servant)
ควิปเปอร์ (Quipper) ปิรันย่า (Piranha)
พรมอุดจมูก (Rug of Smothering) พรมอุดจมูกมีชีวิต (Animated Rug of Smothering)
ซาฮัวกิน (Sahuagin) นักรบซาฮัวกิน (Sahuagin Warrior)
นักบวชหญิงซาฮัวกิน (Sahuagin Priestess) นักบวชซาฮัวกิน (Sahuagin Priest)
ชริกเกอร์ (Shrieker) ชริกเกอร์ฟังกัส (Shrieker Fungus)
ฝูงงูพิษ (Swarm of Poisonous Snakes) ฝูงงูพิษ (Swarm of Venomous Snakes)
ฝูงควิปเปอร์ (Swarm of Quippers) ฝูงปิรันย่า (Swarm of Piranhas)
ทริครีน (Thri-kreen) นักรบทริครีน (Thri-kreen Marauder)
นักเลง (Thug) นักเลง (Tough)
นักรบประจำเผ่า (Tribal Warrior) นักรบทหารราบ (Warrior Infantry)
ไตรโดรน (Tridrone) โมดรอน ไตรโดรน (Modron Tridrone)
นักรบเจนศึก (Veteran) นักรบเจนศึก (Warrior Veteran)
มังกรแดงเงาวัยเยาว์ (Young Red Shadow Dragon) มังกรเงา (Shadow Dragon)
หยวนติเลือดแท้ (Yuan-ti Pureblood) หน่วยสอดแนมหยวนติ (Yuan-ti Infiltrator)